วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Assignment 8 นำเสนอการใช้สื่อและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษา


การนำเสนอการใช้สื่อและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา


และแบบสอบถามความพึงพอใจ



                     หัวข้อ PRESENTATION สื่อนวัตกรรมที่เลือกใช้คือ GOOGLE SITES 👀

🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋

 Google Sitesคือ โปรแกรมออนไลน์ที่ทำให้การสร้างเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้นเหมือนกับการแก้ไขเอกสารธรรมดาๆด้วย Google Sites สามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลในที่เดียว เช่น รวมวิดีโอ ปฏิทินการนำเสนอ เอกสารหรือสิ่งที่แนบ และข้อความ อำนวยความสะดวกให้คุณร่วมกันดู หรือแก้ไขหน้าเว็บ จะเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือทั้งองค์กรของคุณ หรือจะทั้งโลกเลยก็ได้

มาดูหน้าตา Google Sites กันเลยค่ะ





😋😋😋😋😋😋😋😋😋😋😋😋😋


ในสัปดาห์นี้ ได้นำเสนอโดยการอัดคลิป



หลังจากการแนะนำการใช้สื่อแล้ว ก็ให้เพื่อนๆประเมินการใช้สื่อ โดยแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้สื่อ 
ดังหัวข้อรายการประเมินต่อไปนี้



💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛


วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Assignment 7 Review google applications ที่นักศึกษาเลือกใช้

ตัวอย่างการใช้ Application : Youtubeในการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียน
 เลือก Application Youtube เนื่องจาก Application นี้สามารถเข้าถึงง่าย และใครๆก็รู้จัก สามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้แทบจะทุกเรื่อง ในการเรียนการสอนของเราส่วนใหญ่จะใช้ 

Application นี้ในการสอน เพราะเราสามารถเปิดคลิป เกี่ยวกับวิชาที่เราสอนได้ดูจะได้ลองปฏิบัติตาม เช่นการพูดออกเสียงตาม หรือการดุคลิปในการฝึกสอนการเขียนอักษรจีน



Assignment 6 หลักในการประเมิฯสื่อและนวัตกรรม

การประเมินสื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา        การประเมินสื่อการสอนการเรียนการสอน  ซึ่งในที่นี้เป็นสื่อทางการศึกษา  เป็นส่วนหนึ่งหรืออาจเรียกว่าการประเมินผลิตภัณฑ์    หรือประเมินวัสดุ  หรือนวัตกรรมทางการศึกษา   หรือการประเมินสื่อการเรียนรู้  สำหรับการประเมินสื่อการสอนเป็นสิ่งประเมินทางการศึกษาที่มีการกล่าวถึงน้อยที่สุด เนื่องจากอาจเห็นว่าเป็นองค์ประกอบย่อยที่เล็กกว่าสิ่งอื่นในการจัดการศึกษา   และบางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสิ่งนั้นๆ  เช่น  การประเมินการสอน   การประเมินหลักสูตร  หรือการประเมินโครงการ เป็นต้น  หรือเห็นว่าบริษัทผู้ผลิตได้ประเมินมาเสร็จสิ้นแล้ว  ทำให้เอกสาร  ตำรา  หรือบทความเกี่ยวกับการประเมินผลิตภัณฑ์  สื่อ หรือวัสดุทางการศึกษามีน้อยมากดังกล่าว        อย่างไรก็ตาม  การจัดการศึกษาในปัจจุบันสื่อทางการศึกษา โดยเฉพาะสื่อการสอนมีความสำคัญมากขึ้น   มีการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากมาย  ผู้สอนจะต้องตัดสินใจเลือกใช้  หรือบางครั้งต้องผลิต   สร้าง  หรือพัฒนาสื่อขึ้นเองตามความเหมาะสม  การตัดสินใจดังกล่าวต้องอาศัยการประเมินเป็นกลไกสำคัญ   เช่นเดียวกับการประเมินสิ่งอื่นๆ แม้ว่าสื่อการสอนจะผ่านการประเมินตามขั้นตอนจากผู้ผลิต   สร้าง   หรือพัฒนาแล้วในกรณีเป็นผู้ใช้สื่อก็ตาม  แต่อาจจะสนองความต้องการผู้ใช้หรือผู้เกี่ยวข้องได้ดีหรือไม่ก็ได้   ซึ่งต่อไปนี้จะกล่าวถึงสาระเกี่ยวกับความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้  ความสำคัญของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้    ประเภทและลักษณะการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ ขั้นตอนในการประเมินสื่อการสอน วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน   ดังนี้ ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำเอาผลการวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย ( Interpretation ) และตัดสินคุณค่า ( Value Judgment ) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ประการใด จะเห็นได้ว่าการประเมินผลสื่อการเรียนรู้กระทำได้โดยการพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อการเรียนรู้นั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลซึ่งมีความสำคัญ การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการและเหตุผลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง สามารถบ่งบอกถึงศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้อย่างเที่ยงตรงต่อไป ซึ่งในความหมายเดียวกันนี้จะมีคาว่าการวัดผลสื่อการเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งคาว่า “การวัดผลสื่อการเรียนรู้นี้หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนรู้ ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลสื่อการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่ต้องจัดทำควบคู่กันไปเสมอโดยใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนรู้หลากหลายประเภทหลายรูปแบบที่สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมความสำคัญของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนรู้นั้น มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ กล่าวคือ1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของการเรียนการสอน ในการประเมินผลสื่อการเรียนรู้จะมีส่วนของการตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นการอำนวยความสะดวกและกำหนดเส้นทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทาให้ได้ข้อมูลเพื่อยืนยันว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ อย่างไร เพียงใด หากไม่ทาการประเมินผลสื่อการเรียนรู้เราก็ไม่สามารถทราบผลของการจัดการเรียนรู้และไม่สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแง่มุมเหล่านี้จะบ่งบอกประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ การประเมินผลสื่อการเรียนรู้จะทาให้ได้ข้อมูลว่าสื่อได้รับการสร้างและพัฒนาได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ในกระบวนการของการผลิต ทำให้ได้สื่อการเรียนรู้ตรงตามลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ และเมื่อนำสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตนั้นไปใช้สามารถใช้ได้จริงตามที่ออกแบบหรือตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่                                      3. เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแต่ละบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยหรือการพัฒนาจะทำให้ได้ข้อมูลซึ่งในบางครั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการใช้สื่อการเรียนรู้ ทำให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทาง เป็นวิธีการ หรือเป็นรูปแบบใหม่ของการผลิตหรือการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งจะทาให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งผลดีต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น                  4. สร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนรู้ สื่อการสอนที่ได้รับการประเมินผลแล้วจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพของสื่อ รวมทั้งมีข้อมูลที่ช่วยในการกำหนดสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อการนำสื่อการเรียนรู้นั้นไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้นำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้สามารถเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้นั้นได้อย่างสะดวก เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

2. อธิบายการประเมินสื่อที่เป็นแบบทดสอบและแบบสังเกตุ

การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) 
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ แบบทดสอบที่ใช้ในที่นี้ เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรเป็นแบบทดสอบที่มีความตรงเชิงเนื้อหา(Content validity)สูงและสามารถวัดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ในแต่ละจุดประสงค์
 โดยทั่วไปการพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้

 1.1 กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ   
 1.2 พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
 1.3  สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ1.2โดยสามารถวัดตาม   เกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
 1.4  พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
 1.5 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
 1.6  วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น และ ค่าความยากง่าย
 1.7  คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ และสามารถวัดตาม เกณฑ์กำหนดสำหรับแต่ละวัตถุประสงค์

2. แบบสังเกต ในระหว่างการทดลองใช้สื่อ ผู้ตรวจสอบควรจะสังเกตและบันทึกการแสดง ของสื่อ และพฤติกรรมการใช้สื่อในการเรียนการสอนของผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง สิ่งสำคัญ ที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต
 สิ่งสำคัญ ที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
     1.ความสามารถเข้าใจได้ง่าย
     2.การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น  มีขนาด  อ่านง่าย  ฟังง่าย ฯลฯ   
     3.การเสนอตัวชี้แนะสำหรับสาระสำคัญเด่น  ชัดเจน  สังเกตง่าย
     4.ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม  ทั้งเวลาการนำเสนอ และตอบสนอง
     5.วิธีการใช้ที่ง่าย  สะดวก  ไม่ยุ่งยาก

ศึกษาเพิ่มเติม :https://prezi.com/nb-nlbmrgeoj/presentation/



วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Assignment 5 ศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0


week5


ศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0



สัปดาห์นี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 

        ซึ่งเราจะเอามาทำให้เห็นเป็นภาพรวมในการทำให้เป็นประเทสไทย 4.0 ในกระบวนการต่างๆ ที่รวบรวมความคิดเป็นแบบ  mind map ที่ช่วยสื่อให้เห็นว่า ความเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร และเรานำ Model 4.0 มาใช้อะไรได้บ้าง  ดังรูปที่ท่านกำลังชมดังนี้



💘นี้คือช่วงเวลาของการทำงานและผลงานกลุ่มเรา💘


💝ช่วงที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนคำถามกัน💝

😏ขอบคุณมากค่ะ😏

Assignment 4 infographic และ E-Book


Week 4 วันที่ 3 มิถุนายน 2560
 💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢

         ในสัปดาห์นี้ เราได้เรียนรู้ การทำ infographic และ E-Book กัน ซึ่งจริงๆแล้ว infographic นั้น เราจะพบได้ในสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ซึ่งใน Assignment เราก็ได้มีการแนะนำกันไปแล้ว ว่าความหมายของมันคืออะไร และในสัปดาห์นี้ เราได้รับเกียรติจากวิทยากรซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ infographic นั่นก็คือท่าน อ.ประภัสสร ซึ่งเป็นผู้สอนและมอบความรู้ที่เราไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อน โดยสอนการใช้เว็บไซต์ในการทำ infographic นั่นก็คือ www.canva.com







การที่เราจะทำ infographic นั้น ต้องดู ADDIE ซึ่งความหมายของมันก็คือ

รูปแบบการสอน ADDIE ประกอบดวย 5 ขั้นตอนดังนี้

 1. การวิเคราะห (A : Analysis)
 2. การออกแบบ (D : Design)
 3. การพัฒนา (D : Development)
 4. การทดลองใช (I : Implementation)
 5. การประเมินผล (E : Evaluation




✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌✌


www.canva.com

เว็บไซต์นี้สามารถออกแบบได้เหมือนๆกับโปรแกรม photo shop มีลูกเล่นมากมายที่ถูกนักพัฒนาให้ออกมาใช้ทั้งในรูปแบบฟรีและเสียเงิน   ซึ่งเราสามารล็อคอินผ่าน  face book  หรือ e-mail ได้เลย และก็เป็น User ของเราโดยอัตโนมัติ ที่เมื่อเราออกแบบเสร็จแล้ว เว็บไซต์ก็จะเก็บงานให้เรา และสามารถดาวน์โหลด รวมถึง แชร์ผ่าน social ต่างๆได้



นี่คือช่วงเวลาที่ทำงาน(ตั้งใจกันสุดๆ😜)


นี่คือก็คือผลงานของเราเองจ๊ะ

💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃💃

และในช่วงบ่ายได้เรียนรู้การทำ E-Book  โดยใช้โปรแกรม Microsoft office Powerpoint ซึ่งโปรแกรมนี้ที่เรารู้จักกันทั่วไปว่าสามารถใช้นำเสนองานอย่างเดียวกัน แต่แท้จริงแล้ว มันยังสามารถออกแบบ ทำแผ่นพับ ทำE-book ได้อีกมากมาย และนี่ก็คือผลงาน E-Book ของเราเองจ๊ะ




💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞💞

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Assignment 3 Google Site and Google Form


week3 วันที่ 27 พฤษภาคม 2560

Google Site and Google Form

😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖😖
สัปดาห์นี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Google site  และ Google form ว่าคืออะไร

Google Site คืออะไร

Google Site คือบริการที่ ต่อยอดมากจาก Google ที่ผู้ใช้สามารถสร้าง Page ของ Google ในแบบที่ตัวเองต้องการได้แต่ว่ามาคราวนี้ Google Site ได้ต่อยอดจากการที่ว่าสร้างไว้เพื่อดูเองกลายเป็น เครื่องมือในการสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดายนึกถึง โปรแกรม Microsoft FrontPage หรือไม่ก็ MacroMedia Dreamweaver ที่เป็นโปรแกรมบนเครื่องของเรา นั้นแหละครับ แต่ Google Site ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายกว่า ลูกเล่นเยอะกว่าเพราะสามารถ Add Google Gadgets ได้ และที่สำคัญทำงานบนWeb Service
การสร้างเว็บไซด์บน Google Site นอกจากที่เราจะได้เว็บไซด์แล้ว Google ยังให้พื้นที่ในการเก็บเว็บไซด์ไว้บน Google ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีวันล่ม คิดดูครับมีทั้ง เว็บไซด์และโฮสติ้งในคราวเดียวกัน
Google ให้พื้นที่ในการเก็บ เว็บไซด์สำหรับ Free Account ไว้ที่ 100 MBและสำหรับ ลูกค้า Google Apps แบบ Google Apps Premier Edition จะได้รับ
        ·         10 GB of Google Sites storage, plus 500 MB for each Premier Edition user account
        ·         Manage Google Sites sharing settings across your business
        ·         Easily publish Google Sites within your company
·         ก่อนเริ่มใช้งานคุณจะต้องมี Google Account หรือ Gmail นั้นเอง อันเดียวกัน
·         แล้วเข้าไปที่ sites.Google.com จากนั้น Login
·         แล้วกด ปุ่มสีน้ำเงิน Create Site
เรายังสามารถนำ Google Sites ไปเชื่อมกับระบบโดเมนให้เป็นเว็บไซด์ของจริงได้ด้วยโดยGoogle Sitesจะให้เราสามารถเปลี่ยน CNAME  โดยชี้มาที่ ghs.google.com ได้ ในส่วนของ Web address



Google site จะช่วยให้เริ่มต้นสร้างเว็บอย่าง ง่ายที่สุด และเราสามารถสร้างหน้าตาเว็บและสามารถเลือก หรือตกแต่งได้อย่างมืออาชีพ ในพื้นที่มากถึง 100 เม็ก เริ่มต้นได้ง่ายๆ 
กำหนดชื่อไซต์ และสร้างหน้าเว็บแรก
สร้างหน้าเว็บรองลองไป ไม่ต้องกังวล โปรแกรมจะสร้างเมนูให้อัตโนมัติ หรือจัดการภายหลังก็ได้
เลือกประเภทหน้าเว็บที่คุณจะสร้าง: หน้าเว็บธรรมดา, แบบประกาศ, ตู้เก็บไฟล์ เป็นต้น
ใส่ชื่อไซต์ให้เรียบร้อยด้วย
กำหนดว่าจะเก็บหน้าที่คุณสร้างขึ้น ไว้ดูคนเดียว หรือให้คนอื่นเข้าดูได้
เนื้อหาที่คุณสร้างขึ้น จะถูกบรรจุไว้ในฐานข้อมูลการค้นหาในลำดับต่อไป

บริการของ Google sites คือบริการฟรีเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถ

สร้างเว็บไซต์ได้ง่าย โดยไม่ต้องมีความรู้ HTML
ใส่รูปภาพ ข้อความ
 - สร้างไฟล์แนบให้ Download ได้
 - กำหนดได้ว่าจะให้ใครเข้ามาดูได้บ้าง
 - ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

นี่คือผลงานการออกแบบ Google Sites ในสัปดาห์นี้จ๊ะ


https://sites.google.com/s/0BxaSwntgoWgmeXFHbDRJV1Nvak0/p/0BxaSwntgoWgmMjNyX1c0SlRkQ1k/edit

💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟

การออกแบบข้อสอบออนไลน์ โดยใช้ Google form 


วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Assignment 2 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม By Society



ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม หรือ กระบวนการเกิดนวัตกรรม

 
  กระบวนการเกิดนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ ดังต่อไปนี้
                                           ⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹  

   1.การค้นหา(Searching) เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
        2.การเลือกสรร(Selectingเป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
           3.การนำไปปฏิบัติ(Implementing) เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก 
      ๔ ประการ ดังนี้
3.1 การรับ (Acquring)  คือ ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา (R&D) , การทำวิจัยทางการตลาด รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น
3.2 การปฏิบัติ(Executing)  คือ ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving)ตลอดเวลา
3.3 การนำเสนอ (Launching) คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4 การรักษาสภาพ(Sustaining) คือ การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
        4.การเรียนรู้(Learning)เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน
2. มีการตรวจสอบ หรือทดลอง และปรับปรุงพัฒนา
3. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง
              การที่จะพิจารณาว่า สิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง3ขั้นตอน ตามที่กล่าวมาแล้ว อาทิเช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)เป็นนวัตกรรม เพราะผ่านกระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
           •ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้น
           •ขั้นที่สองมีการทดลองใช้และพัฒนามาแล้ว
           •ขั้นที่สามมีการนำมาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน
          •แต่การโคลนนิ่งมนุษย์ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพราะยังผ่านกระบวนการไม่ครบ 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการคิดค้นวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมาขั้นที่สองผ่านการทดลองปรับปรุงพัฒนาแล้ว แต่ยังไม่ผ่านขั้นที่สามคือยังไม่มีการนำวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์มาใช้ในสถานการณ์จริงเพราะกฎหมายยังไม่ยอมให้มีการโคลนนิ่งมนุษย์  จึงยังไม่เป็นนวัตกรรม
                เอกสารอ้างอิง
1.       สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ. นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ วารสาร บริหารธุรกิจ.ปีที่ 33 
          ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2533.
2.        www.https://mrslaongtip.wordpress.com
3.        https://sites.google.com/site/sinali098765/2-krabwnkar-keid-nwatkrrm
            เยี่ยมชม Presention ของกลุ่มเราได้ที่ 
           http://prezi.com/b7zq_w3fbr9v/?utm_campaign=share&utm_medium=copy👈👈👈







โฆษณา นวัตกรรมสี NIPPON

                    ขอขอบคุณทุกท่านที่รับชม😉


Week ๒ วันเสาร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐
😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸
Infographics คืออะไร 
       Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด (เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน) และในปัจุบันกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Netword ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย เพราะด้วยแผนภาพสวยๆนี้ สามารถทำให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอ ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน  โดยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆได้ดังนี้
1.ข่าวเด่น ประเด่นร้อน และสถานการณ์วิกฤต 
    เป็น Infographics ที่ได้รับการแชร์มากๆ มักจะเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศ เช่น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2.สอน ฮาวทู
   บอกเล่ากลยุทธ์ต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น เล่าถึงกลยุทธ์การออมเงิน ที่ใครๆก็มักมองข้าม
3.ให้ความรู้
    ในรูปแบบของ Did You Know หรือ สถิติสำคัญทางประชากรต่างๆตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่น่าเบื่อ ให้มีสีสัน สนุก และ น่าติดตาม
4.บอกเล่าตำนานหรือวิวัฒนาการ
 เรื่องราวบางอย่างอาจต้องถ่ายทอดผ่านตำราหนาๆ แต่ด้วย Infographics จะช่วยทำให้ตำนานเหล่านั้นบรรจุอยู่ในพื้นที่ๆจำกัดได้อย่างน่าทึ่ง 
5.อธิบายผลสำรวจ และ งานวิจัย
   Infographics เหมาะที่สุดที่จะถ่ายทอดงานวิจัยที่ดูยุ่งเหยิงไปด้วยตัวเลขและข้อมูลมหาศาลออกมาเป็นแผนภาพสวยๆและทรงพลัง มีหลายบริษัทเริ่มใช้เครื่องมือนี้ เพื่อทำให้งานวิจัยของตัวเองเข้าถึงคนหมู่มาก
6.กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
   เช่น ภัยของการสูบบุรี่ที่มีต่อคนสูบและคนที่ไม่ได้สูบแต่ต้องได้รับผลกระสูบจากการสูบบุรี่ด้วย ขอเท็จจริงเหล่านี้ล้วนมุ่งหวังให้คนอ่านเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดีขึ้น หากได้รับการแชร์มากๆในโลกออนไลน์ ก็อาจสร้างกระแส จนถึงขั้นนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกออนไลน์ในที่สุด

7.โปรโมทสินค้าและบริการ
    ตัวอย่างการใช้ Infographic ในการ โปรโมทสินค้า เหตุผลว่าทำไมถึงเปลี่ยนไปใช้ Nokia Lumia ในสไตล์ Infographic
เหตุผลอันดับหนึ่งที่มาพร้อมกับตัวเลขที่สูงถึง 25% กล่าวว่าเหตุผลที่ต้องการใช้ Nokia Lumia นั้นเป็นเพราะมั่นใจในแบรนด์ ชื่อดัง และยังหลงรักหรือเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Nokia อย่างเหนียวแน่น ในขณะที่เหตุผลอันดับสองที่ตามมาที่ 20.8% กล่าวว่า ชอบในการออกแบบที่มีความโดดเด่นและไม่เหมือนใครของ Nokia Lumia อย่างไรก็ตามภาพ Infographic ที่ Nokia จัดทำขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการโปรโมทแคมเปญที่มีชื่อว่า “Switched to Lumia” ซึ่ง Nokia ตั้งใจให้เห็นถึงเหตุผลของความต้องการที่จะเปลี่ยนใจมาใช้ Nokia Lumia นั่นเอง

     The Power of Visual Storytelling
ปรากฎการณ์ที่เห็นเด่นชัดในทุกวันนี้คือ Infographic แทรกซึมและซอกซอนไปได้ในทุกๆสื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อDIgital อย่าง Website ,Blog และ Social Media รู้หรือไม่ว่าคำว่า Infograpphics มีการรายงานสืบค้นใน Google มากถึง 14.5 ล้าน ข้อมูล ณ.วันที่ 15 พย. 2555 เพิ่มขึ้นถึง 800% ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น
             พลังของ Infographic มีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์โดยตรง ตัวอย่างที่มักมีการหยิบยกไปอ้างอิงอยู่เสมอ คือ 90% ของข้อมูลที่เข้าสู่สมองของคนเราคือข้อมูลที่เป็นรูปภาพ เพราะรูปภาพและไอคอนกราฟฟิกต่างๆเร้าความสนใจได้ดีกว่า คนจดจำเรื่องราวจากการอ่านได้เพียง20% และ 40%ของผู้บริโภคจะตอบสนองต่อข้อมูลที่เป็นรูปภาพมากว่าข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือธรรมดา และการ Post   Infographic ใน social Media อย่าง Twitter จะมีการ ReTwitter มากกว่าการ Post ในรูปแบบเทรดดิชั่นแนลถึงขณะที่ 45% ของผู้ใช้งาน Website จะ Click Link นั้น หากเป็นข้อมูล Infographics ขณะที่ 30% จะ Forword หรือ Shareต่อข้อมูลนั้นจะไร้สาระหรือ ไม่มีประโยชน์ใดๆก็ตาม



แหล่งที่มา 

Assignment 8 นำเสนอการใช้สื่อและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษา

การนำเสนอการใช้สื่อและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจ                      หัวข้อ   PRESENTATION   สื่อนวัตกร...