ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม หรือ
กระบวนการเกิดนวัตกรรม
กระบวนการเกิดนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ ดังต่อไปนี้
⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹⇹
1.การค้นหา(Searching) เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค
สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2.การเลือกสรร(Selecting) เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น
เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร
ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
3.การนำไปปฏิบัติ(Implementing) เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ
ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร
แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น
ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก
๔ ประการ ดังนี้
3.1 การรับ (Acquring) คือ
ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา (R&D)
, การทำวิจัยทางการตลาด
รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology
Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร
(Strategic Alliance) เป็นต้น
3.2 การปฏิบัติ(Executing) คือ
ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ
ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving)ตลอดเวลา
3.3 การนำเสนอ (Launching) คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด
โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4 การรักษาสภาพ(Sustaining) คือ
การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้
ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น
(Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
4.การเรียนรู้(Learning)เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน
2. มีการตรวจสอบ หรือทดลอง
และปรับปรุงพัฒนา
3. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การที่จะพิจารณาว่า
สิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง3ขั้นตอน ตามที่กล่าวมาแล้ว
อาทิเช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)เป็นนวัตกรรม
เพราะผ่านกระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
•ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้น
•ขั้นที่สองมีการทดลองใช้และพัฒนามาแล้ว
•ขั้นที่สามมีการนำมาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน
•แต่การโคลนนิ่งมนุษย์ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพราะยังผ่านกระบวนการไม่ครบ 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
ขั้นที่หนึ่งมีการคิดค้นวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมาขั้นที่สองผ่านการทดลองปรับปรุงพัฒนาแล้ว
แต่ยังไม่ผ่านขั้นที่สามคือยังไม่มีการนำวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์มาใช้ในสถานการณ์จริงเพราะกฎหมายยังไม่ยอมให้มีการโคลนนิ่งมนุษย์
จึงยังไม่เป็นนวัตกรรม
เอกสารอ้างอิง
1. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ. นวัตกรรม : ความหมาย
ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ วารสาร บริหารธุรกิจ.ปีที่ 33
ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2533.
2. www.https://mrslaongtip.wordpress.com
3. https://sites.google.com/site/sinali098765/2-krabwnkar-keid-nwatkrrm
เยี่ยมชม Presention ของกลุ่มเราได้ที่
http://prezi.com/b7zq_w3fbr9v/?utm_campaign=share&utm_medium=copy👈👈👈
โฆษณา นวัตกรรมสี NIPPON
ขอขอบคุณทุกท่านที่รับชม😉
Week ๒ วันเสาร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐
😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸
Infographics คืออะไร
Infographic ย่อมาจาก Information
Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ
เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด
(เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน)
และในปัจุบันกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Netword ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย
เพราะด้วยแผนภาพสวยๆนี้ สามารถทำให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ
ข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น
ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ
ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอ ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย
ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน โดยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆได้ดังนี้
1.ข่าวเด่น ประเด่นร้อน
และสถานการณ์วิกฤต
เป็น
Infographics ที่ได้รับการแชร์มากๆ
มักจะเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศ เช่น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2.สอน ฮาวทู
บอกเล่ากลยุทธ์ต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
เช่น เล่าถึงกลยุทธ์การออมเงิน ที่ใครๆก็มักมองข้าม
3.ให้ความรู้
ในรูปแบบของ
Did You Know หรือ
สถิติสำคัญทางประชากรต่างๆตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่น่าเบื่อ
ให้มีสีสัน สนุก และ น่าติดตาม
4.บอกเล่าตำนานหรือวิวัฒนาการ
เรื่องราวบางอย่างอาจต้องถ่ายทอดผ่านตำราหนาๆ
แต่ด้วย Infographics จะช่วยทำให้ตำนานเหล่านั้นบรรจุอยู่ในพื้นที่ๆจำกัดได้อย่างน่าทึ่ง
5.อธิบายผลสำรวจ และ
งานวิจัย
Infographics เหมาะที่สุดที่จะถ่ายทอดงานวิจัยที่ดูยุ่งเหยิงไปด้วยตัวเลขและข้อมูลมหาศาลออกมาเป็นแผนภาพสวยๆและทรงพลัง
มีหลายบริษัทเริ่มใช้เครื่องมือนี้ เพื่อทำให้งานวิจัยของตัวเองเข้าถึงคนหมู่มาก
6.กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เช่น
ภัยของการสูบบุรี่ที่มีต่อคนสูบและคนที่ไม่ได้สูบแต่ต้องได้รับผลกระสูบจากการสูบบุรี่ด้วย
ขอเท็จจริงเหล่านี้ล้วนมุ่งหวังให้คนอ่านเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดีขึ้น
หากได้รับการแชร์มากๆในโลกออนไลน์ ก็อาจสร้างกระแส
จนถึงขั้นนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกออนไลน์ในที่สุด
7.โปรโมทสินค้าและบริการ
ตัวอย่างการใช้ Infographic ในการ โปรโมทสินค้า เหตุผลว่าทำไมถึงเปลี่ยนไปใช้
Nokia
Lumia ในสไตล์ Infographic
เหตุผลอันดับหนึ่งที่มาพร้อมกับตัวเลขที่สูงถึง
25% กล่าวว่าเหตุผลที่ต้องการใช้
Nokia Lumia นั้นเป็นเพราะมั่นใจในแบรนด์ ชื่อดัง และยังหลงรักหรือเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ
Nokia อย่างเหนียวแน่น
ในขณะที่เหตุผลอันดับสองที่ตามมาที่ 20.8% กล่าวว่า ชอบในการออกแบบที่มีความโดดเด่นและไม่เหมือนใครของ
Nokia Lumia อย่างไรก็ตามภาพ Infographic ที่ Nokia จัดทำขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการโปรโมทแคมเปญที่มีชื่อว่า
“Switched to Lumia” ซึ่ง Nokia ตั้งใจให้เห็นถึงเหตุผลของความต้องการที่จะเปลี่ยนใจมาใช้ Nokia Lumia นั่นเอง
The Power of Visual Storytelling
ปรากฎการณ์ที่เห็นเด่นชัดในทุกวันนี้คือ Infographic แทรกซึมและซอกซอนไปได้ในทุกๆสื่อ
ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อDIgital อย่าง Website
,Blog และ Social Media รู้หรือไม่ว่าคำว่า Infograpphics
มีการรายงานสืบค้นใน Google มากถึง 14.5
ล้าน
ข้อมูล ณ.วันที่ 15 พย. 2555 เพิ่มขึ้นถึง 800%
ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น
พลังของ Infographic
มีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์โดยตรง
ตัวอย่างที่มักมีการหยิบยกไปอ้างอิงอยู่เสมอ คือ 90% ของข้อมูลที่เข้าสู่สมองของคนเราคือข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
เพราะรูปภาพและไอคอนกราฟฟิกต่างๆเร้าความสนใจได้ดีกว่า คนจดจำเรื่องราวจากการอ่านได้เพียง20%
และ 40%ของผู้บริโภคจะตอบสนองต่อข้อมูลที่เป็นรูปภาพมากว่าข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือธรรมดา
และการ Post
Infographic ใน social
Media อย่าง Twitter จะมีการ ReTwitter
มากกว่าการ Post ในรูปแบบเทรดดิชั่นแนลถึงขณะที่
45% ของผู้ใช้งาน Website จะ Click
Link นั้น หากเป็นข้อมูล Infographics ขณะที่ 30%
จะ Forword หรือ Shareต่อข้อมูลนั้นจะไร้สาระหรือ ไม่มีประโยชน์ใดๆก็ตาม
แหล่งที่มา